google13076cdc17b3388d

มีนาคม 2567

"วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก" เสนอโดยประเทศไทย ในวาระครบรอบ 40 ปี ของการลงนามรับรองอนุสัญญาไซเตส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2516 และในฐานะประเทศเจ้าภาพผู้จัดประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 16 (CITESS CoP16) ระหว่างวันที่ 3-14 มีนาคม 2556 กรุงเทพมหานคร จึงเสนอให้วันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นวัน "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก (World Wildlife Day)" ต่อมาในปีเดียวกัน วันที่ 20 ธันวาคม ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 68 ได้มีมติรับรองและประกาศให้วันดังกล่าวเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าโลกอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ร่วมกันตระหนักถึงประโยชน์ในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชพรรณอันหลากหลาย 

การศึกษาธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่ต้องมีความรู้และความรับผิดชอบต่อพื้นที่ การได้เรียนรู้ไปพร้อมกิจกรรมที่สนุกสนาน ทั้งทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นครอบครัว จะทำให้เกิดการตั้งคำถาม การพูดคุย ค้นคว้า หาคำตอบ

สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และหมายรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่รวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะและสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว (พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535)
สัตว์ป่าแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ คือ
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ช้าง เสือ กวาง ค้างคาว เป็นต้น
  • นก เช่น นกเขา ไก่ป่า นกยูง ไก่ฟ้า เป็นต้น
  • สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด กิ้งกือ กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ เป็นต้น
  • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบเขียด ปาด คางคก เป็นต้น
  • ปลา

ตามบทบัญญัติแห่ง พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สัตว์ป่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  • สัตว์ป่าสงวน หมายความว่า สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีแนบท้าย พรบ. นี้ และตามที่ได้กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันมีจำนวน 15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผานกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน
  • สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายความว่า สัตว์ป่า ตามที่กำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 189 ชนิด นก 182 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 63 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก12 ชนิด แมลง 13 ชนิด ปลา 14 ชนิด
  • และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 13 ชนิด ซึ่งมีจำนวนมาก (จำนวนชนิดเป็นข้อมูลขณะทำเอกสารคู่มืออุทยานแห่งชาติ เพื่อการอบรมเยาวชน ลำดับที่ 4) 
  • สัตว์ป่านอกประเภท หมายถึง สัตว์ป่าที่ไม่ปรากฏในบัญชีแนบท้าย พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และบัญชีท้ายกฎกระทรวงที่กำหนดถึงชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครอง ประเทศไทยมีสัตว์ป่าประเภทต่างๆ จำนวน 2,748 ชนิด เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นจำนวน 124 ชนิด ใกล้สูญพันธุ์จำนวน 320 ชนิด

การเล่นเกม ทำกิจกรรม มีส่วนกระตุ้นและปลุกเร้าให้เด็กหรือเยาวชนมีความสนใจ ส่งเสริมจินตนาการ มีความรู้พื้นฐานเพื่อเข้าใจทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศก่อนออกสู่พื้นที่จริงเพื่อนันทนาการ ได้แก่ ทัศนศึกษา การเข้าค่าย การเที่ยวอุทยาน การเดินป่า

ผู้ปกครอง หรือ ผู้นำเกม เลือกเกมให้เหมาะกับอายุ ช่วงวัย หรือความสนใจของกลุ่มผู้ศึกษาธรรมชาติ เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่าที่มีหลายด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความสวยงาม ด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัย ด้านการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ อันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

 

Visitors: 81,116