google13076cdc17b3388d

กรกฎาคม 2567

ประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและเข้าสู่ฤดูฝนราวๆ เดือนพฤษภาคม เกษตรกรเริ่มทำการเตรียมดิน โดยการกำจัดวัชพืช พลิกดิน ไถกลบ ใส่ปุ๋ยบำรุงดิน และลงมือเพาะปลูก ซึ่งในเดือนถัดๆ ไปก็จะมีวันสำคัญทางศาสนาคือวันอาสาฬหบูชา ในทางจันทรคติจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือว่ามีความหมายกับพุทธศาสนิกชนอย่างยิ่ง เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาพระสูตรแรกคือ ธัมมจักกัปปวตสูตรแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 จนทำให้เกิดพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ ปัจจุบันตั้งอยู่ในอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

ต่อจากวันอาสาฬหบูชาคือ วันเข้าพรรษา ซึ่งความเป็นมาของวันเข้าพรรษามีที่มาในอตีต มีที่มาจากในอดีตที่่พระพุทธองค์เห็นว่าการที่พระสงฆ์ออกเดินทางเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนในช่วงเวลาที่ชาวบ้านทำการเพาะปลูกนั้น อาจจะทำให้พระสงฆ์เดินไปเหยียบข้าวกล้าในนาปลูกและอาจจะถูกเกษตกรติเตียนได้ จึงทรงมีพุทธบัญญัติให้ พระสงฆ์จำพรรษาอยู่กับที่เป็นเวลา 3 เดือน ในระหว่างนี้พระสงฆ์จะฝึกปฏิบัติทั้งพระธรรมและพระวินัย เป็นการเตรียมตัวไปในเวลาเดียวกัน เพื่อวันออกพรรษามาถึง ก็จะได้เทศนาสั่งสอนให้แก่พุทธศาสนิกชน

ในส่วนของภาคประชาชนจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้แก่ การทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายเทียนพรรษา และของจำเป็นสำหรับพระภิกษุที่ต้องใช้ตลอดพรรษาและชาวพุทธ ยังใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการตั้งใจ อธิฐานจิต ปวารณาตนในการงดอบายมุขต่างๆ ได้แก่ งดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ งดการพนันรับประทานอาหารมังสวิรัต ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเทศการเข้าพรรรษาเป็นช่วงเวลาที่สร้างคุณประโยชน์มากมาย ชาวพุทธจึงควรสืบสานและต่อยอดให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

Visitors: 69,975