google13076cdc17b3388d

มกราคม 2568

ความเป็นมาของวันปีใหม่ในประเทศไทย
 
        ในสมัยโบราณเราถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไป ในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรกจนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัด

1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่
       มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม  ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ ไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และได้ร่วมฉลองปีใหม่ในแบบสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลกถือเป็น
การฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทยตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
 
 
ด้วยสมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันที่ช่วยจัดการธุระกิจในชีวิตประจำวันได้ครอบคลุมเกือบทุกด้านในชีวิต
ลองหันมาใช้สมุดบันทึกเป็นประจำเพื่อสำรองข้อมูลไว้อีกชุด พกพาติดตัวสะดวกทุกที่ ประโยชน์มากมาย ได้แก่

1. พักการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ดีต่อสมอง
ลองหันมาใช้สมุดโน้ตกระดาษ สมุดแพลนเนอร์ จดด้วยลายมือ เช่น จดสิ่งที่ต้องทำ-เช็คลิสต์ จดแผนงาน หรือวางแผนชีวิตประจำวัน ติดตามความก้าวหน้า อัพเดทสถานการณ์ของตัวเองในสมุดบันทึก เพราะการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป เป็นสาเหตุให้นอนหลับยาก ความวิตกกังวล ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เป็นต้น ดังนั้น ในระหว่างวันเราควรห่างจากอุปกรณ์บ้าง เพื่อชลอการเช็คแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟน
การจดบันทึกในกระดาษยังช่วยให้สายตาลดการจ้องจอ 
 
2. สมุดอเนกประสงค์
โน้ตบุคเหนือกว่าแอปพลิเคชันตรงที่ ไม่ใช่แค่สมุดบันทึกประจำวัน แต่เป็นได้มากกว่านั้นอีก เป็นคลังเก็บหลายโอกาสแห่งการจดจำทั้งงบรายเดือน รายการซื้อของ ร้านอาหารที่ชอบ กาแฟร้านโปรด นอกจากจดแล้ว ก็ยังสเก็ตช์ภาพ วาดภาพดูเดิล และมายแมพได้อีกด้วย
 
3. การเขียนด้วยลายมือดีกว่าการพิมพ์
ลายมือนั้นมีหลากหลายเมื่อเทียบกับการพิมพ์ตัวหนังสือเป็นความสามารถเฉพาะตัว ยิ่งใช้บ่อยยิ่งช่วยให้ทักษะการเขียนดีขึ้นมีการศึกษาว่าการเขียนด้วยมือช่วยให้กระบวนการการจัดการข้อมูลดีขึ้น จำได้แม่นยำมากขึ้น และคิดได้เร็วเมื่อเปรียบเทียบกับการพิมพ์มากกว่านั้น ยังช่วยพัฒนาทักษะการสะกดคำ ตั้งแต่ไม่ค่อยเขียนด้วยลายมือที่ทำงาน ลายมือจากวัยเรียนก็จางหายไป การจดบันทึกความคิดสั้นๆ ลงสมุดด้วยลาย เป็นการฟื้นฟูประสิทธิภาพร่างกายส่วนสมองและมือ
 
4. ความจำไม่แน่นอน (ไม่น่าเชื่อถือ)
สมุดบันทึกคือที่สมบูรณ์ที่จะจดความคิดได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่เราจะลืมมัน ขณะที่คุณคิดอยู่ในขณะนั้น
ความจำจะติดในสมองคุณเล็กน้อย ผลการวิจัยพบว่าแม้คนจะมีความจำยอดเยี่ยมจากการฝึกฝน ก็จำได้ไม่ทั้งหมด  จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจำหมายหมายเลขมือถือหรือรายการสิ่งของไม่ได้
 
การพกปากกาและกระดาษติดตัวไว้ ช่วยให้ง่ายต่อการจดข้อมูลก่อนที่มันจะจากไป บันทึกเหตุการณ์ระหว่างวันคือวิธีที่ดีในการทบทวนความจำ 
 
5. การเขียนดีต่อสุขภาพภายใน
การบันทึก คือเทคนิคที่คุณหมอแนะนำเพื่อบำบัดฟื้นฟูร่างกาย เพื่อระบายความเครียดหรือคลี่คลายความคิด ความหวาดกลัว ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น แม้ว่าจะไม่มีเวลาเขียนทุกวัน แต่คุณเขียนฆ่าเวลาได้ระหว่างวัน
 
 
6. คุณไม่มีทางรู้เลยว่าเมื่อไรจะเกิดแรงบันดาลใจ
การพกสมุดบันทึกคือส่วนนึงของกระบวนการสร้างสรรค์มาเนิ่นนาน ทั้งนักวิทยาศาสตร์หรือศิลปินสมัยก่อนหรือสมัยใหม่จะได้ข้อมูลที่ประมวลผลมาจากการบันทึกของตัวเอง แม้ว่าเราจะไม่ได้วางแผนที่จะเป็นอะไร แต่การจดสมุดโน้ตจะช่วยสร้างประกายความคิดขึ้นมาจนได้
 
7. สมุดโน้ตไม่มีวันแบตเตอรี่หมด
ดิจิตอลแพลนเนอร์และแอปลิเคชันต่างๆ สะดวกสบายและมากประโยชน์ จนกระทั่งแบตเตอรี่หมด ก็หมดประโยชน์ทันที ส่วนสมุดและปากกาไม่ต้องการพลังงานและพร้อมใช้เสมอ แม้ว่าเราจะใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน แต่การพกสมุดก็ยังช่วยประหยัดแบตเตอรี่อีกด้วย เพราะถ้าแบตเตอรี่หมด ก็จะใช้แอปลิเคชันนำทางไม่ได้ หรือแม้แต่จะเล่นเกม
 
นำมาจาก https://shorturl.at/2YThh
Visitors: 81,307