google13076cdc17b3388d

เมษายน 2568

30 เมษายน วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมและปลอดภัยจากการซื้อสินค้าหรือบริการมีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคและประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522 เกือบเป็นเวลาครึ่งศตวรรษที่ได้มีการใช้กฎหมายนี้ ซึ่งมีที่มาจากการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้นในปี 2512 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ยังไม่พร้อมเข้าร่วม ต่อมาในปี 2514 องค์กรเอกชนของไทยรวมตัวกันตั้ง "กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค" เพื่อศึกษาปัญหาผู้บริโภคจนถึงปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา แล้วมีมติเอกฉันท์นำร่างกฎหมายให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และรัชกาลที่ 9 ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522
จึงเป็นที่มาของวันดังกล่าว กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522
(ที่มา: https://shorturl.at/7VQUP )

สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย 5 ประการ มีดังนี้


1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

 

สิทธิผู้บริโภคสากล 8 ประการ มีดังนี้

 

1. สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน (The right to safety)

2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ (The right to be informed)

3. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ (The right to choose)

4. สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการได้อย่างอิสระในราคายุติธรรม (The right to be heard)

5. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (The right to satisfaction of basic needs)

6. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและค่าชดเชยความเสียหาย (The right to redress)

7. สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภค (The right to consumer education)

8. สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย (The right to a healthy environment)

(ที่มา: https://www.consumerthai.org)

Visitors: 90,383